เหรียญไข่กลม หันข้าง หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ฉลองอายุ 80 ปี (( บล็อควงเดือน ))
|
|||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
|||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
บี บุรีรัมย์ | ||||||||||||||||
โดย
|
บี บุรีรัมย์ | ||||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเกจิทั่วไป | ||||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เหรียญไข่กลม หันข้าง หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ฉลองอายุ 80 ปี (( บล็อควงเดือน )) |
||||||||||||||||
รายละเอียด
|
เหรียญหันข้างหลวงพ่อเงิน หรือ เหรียญหลวงพ่อเงินพันชั่ง ที่ออกในคราวฉลองอายุครบ 80 ปี ของหลวงพ่อเงิน เมื่อปี พ.ศ.2513 แต่ด้วยความที่ชื่อรุ่นนั้นไปพิมพ์ไว้บนกล่องมิได้ระบุไว้บนเหรียญ อีกทั้งพระที่ออกจากวัดส่วนมากจะใส่ซองพลาสติก แบบลงกล่องมีน้อยมากทุกวันนี้กล่องก็แทบจะไม่พบแล้ว ทำให้ผู้ที่รู้ชื่อจริงนั้นมีน้อยมาก ในที่สุดวงการพระเครื่องก็เลยเรียกชื่อกันแบบง่ายๆ จนกลายหรียญหันข้างหลวงพ่อเงินนั่นเอง นับว่าน่าเสียดายมากๆ ที่ชื่ออันเป็นมงคลนั้นถูกลบลืมไป ว่ากันด้วยเรื่องการสร้างเหรียญรุ่นนี้คงต้องย้อนไปในปี พ.ศ.2513 เมื่อคราวหลวงพ่ออายุครบ 80 ปี ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2513 ซึ่งถือว่าเป็นแซยิดครั้งหนึ่งเช่นกัน ทางคณะกรรมการวัดได้ขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้างพระขึ้นมาชุดหนึ่งไว้เป็นที่ระลึกโดยหลวงพ่อท่านได้อนุญาตจัดสร้างออกมากเป็น 2 แบบ คือพระกริ่งและเหรียญปั๊มรูปไข่ โดยพระกริ่งนั้น คือ กริ่งพันตำลึงทอง ส่วนเหรียญปั๊มนั้นได้ตัดสินใจให้สร้างมาเป็นเหรียญรูปไข่ขนาดกำลังงาม คือสูง 2 นิ้ว และกว้าง 1.2 นิ้ว โดยกำหนดให้มีเอกลักษณ์กว่ารุ่นอื่นตรงที่รูปเหมือนหลวงพ่อนั้นจะไม่ใช่หน้าตรงเหมือนรุ่นก่อนๆ แต่จะใช้รูปเหมือนหันข้างของหลวงพ่อแทน สัณฐานรูปทรงเหรียญเป็นเหรียญไข่หูในตัว เว้นแต่บล็อกไข่ยาวที่จะมีความยาวกว่าบล็อกอื่นคือยาว 2.2 นิ้ว และกว้าง 1 นิ้ว แต่ทั้ง 4 บล็อกล้วนมีลักษณะโดยรวมเหมือนกัน คือทรงรูปไข่ ด้านหน้าเส้นขอบใหญ่ มีตัวหนังสือคำว่า “หลวงพ่อเงิน ๘๐” อยู่ด้านล่างประกอบด้วยกนกเปลวเพลิง ด้านบนมีชุดยันต์มงคลเก้าอ่านว่า “อะ สัง วิ สุ โร อุ สะ พุ ภะ” ในส่วนตรงกลางจะมีรูปหลวงพ่อหันข้างอยู่กลางเหรียญ พื้นเหรียญเรียบเว้นแต่จะมีเส้นเสี้ยนของบล็อกเท่านั้น ส่วนด้านหลัง จะมีชุดยันต์นะทรหดอยู่ตรงกลาง ด้านล่างมีตัวหนังสือแถวตรงว่า “พระราชธรรมาภรณ์” และล่างสุดเป็นหนังสือแถวโค้ง “๒๐ มีนาคม ๒๕๑๓” คือวันที่ปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้นั่นเอง ในส่วนของพื้นด้านหลังจะมีจุดไข่ปลาจำนวนมาก นอกจากนี้เอกลักษณ์ด้านหลังของพระรุ่นนี้จะมียันต์แบบเต็มและขาด คือบริเวณท้องยันต์นะทรหดนั้นตื้นเลือนปั๊มไม่เต็ม ซึ่งเกิดจากแม่พิมพ์ชำรุดจากการปั๊ม ในส่วนของพิมพ์และบล็อกนั้นรุ่นนี้มีด้วยกัน 2 พิมพ์ 4 บล็อก คือ พิมพ์หน้าเดียวและสองหน้า ส่วนบล็อกคือบล็อกทองคำ บล็อกวงเดือน บล็อกสายฝนและบล็อกไข่ยาว เนื้อหานั้นมีการสร้างออกมา 5 เนื้อ คือเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้อทองแดงรมดำและทองแดงกะไหล่ทอง จำนวนการสร้างปรากฏชัดตามหนังสือ เฉลิมพระคุณพระราชธรรมาภรณ์ ที่พิมพ์มาแจกในวันที่ 20-21 มีนาคม 2513 ว่าเนื้อทองคำนั้นสร้างทั้งสิ้น 801 เหรียญ ส่วนบล็อกที่ใช้ทำเนื้อทองคำมีบล็อกเดียว เป็นบล็อกที่สร้างไว้มากที่สุดและเนื่องจากใช้ทำเนื้อทองคำ จึงถูกเรียกว่าบล็อกทองคำ เปิดให้ทำบุญเหรียญละ 801 บาทเท่ากับจำนวนการสร้าง แต่แม้จะสร้างเยอะขนาดนี้ปรากฏว่าถูกเช่าทำบุญหมดจากวัดก่อนจะสร้างเสร็จเสียด้วย เนื้อเงินนั้นจำนวนสร้างทั้งสิ้น 2,513 เหรียญ ให้ทำบุญออกจากวัดเหรียญละ 50 บาท โดยใช้บล็อกทองคำเช่นเดียวกับเนื้อทองคำ เพราะการสร้างนั้นปั๊มเนื้อทองคำก่อนแล้วมาปั๊มเนื้อเงิน จึงใช้บล็อกปั๊มต่อมาเลย แต่กระนั้นก็ยังมีการถกเถียงว่ามีเนื้อเงินบล็อกวงเดือนสร้างออกมาด้วย ซึ่งก็ได้รับการยอมรับในวงการพระเครื่อง แต่ราคาเล่นหาจะเบากว่าบล็อกทองคำ เนื้อนวโลหะนั้นจัดเป็นเนื้อพิเศษที่ใช้พิมพ์พิเศษจัดสร้าง คือเนื้อนวะโลหะจะจัดสร้างเป็นพิมพ์ 2 หน้า โดยใช้บล็อกวงเดือนสร้าง แต่ทั้งสองหน้าจะต่างกันที่ขอบเหรียญคือหน้าหลังนั้นขอบจะเล็กกว่าขอบด้านหน้า และด้านบนจะมีหนังสือว่า "พระราชธรรมาภรณ์" แทนยันต์มงคลเก้า ส่วนด้านล่างมีวันที่คือ "๒๐ มีนาคม ๒๕๑๓" ในหนังสือไม่ได้กล่าวถึงดังนั้น จึงเชื่อว่าสร้างเพิ่มมาภายหลังจากหนังสือพิมพ์ออกมาแล้ว(กริ่งพันตำลึงทอง หนังสือก็กล่าวถึงแต่เนื้อทองคำ ไม่ได้ระบุว่าสร้างเนื้อเงินกับนวโลหะด้วย แต่จากการสอบถามกรรมการวัดสมัยนั้นระบุว่า ในหนังสือคือพระที่ออกให้ทำบุญในงานช่วงเดือนมีนาคม ส่วนเนื้อที่สร้างเพิ่มมา เช่นเนื้อทองคำตั้งแต่หมายเลข 81 สร้างช่วงเดือนกันยายนปีเดียวกัน เนื่องจากตรงกับวันเกิดหลวงพ่อเงินนั่นเอง) จำนวนสร้างว่ากันว่ามีน้อยกว่าเนื้อเงินเสียอีก นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงกันมาตลอดว่าเนื้อนวโลหะพิมพ์หน้าเดียวมีการสร้างออกมาหรือไม่ เพราะส่วนกลางและกรุงเทพมหานครไม่ยอมรับว่ามีการสร้างเนื้อนวโลหะหน้าเดียวออกมา แต่คนดอนยายหอมเองพูดเรื่องเนื้อนวโลหะหน้าเดียวว่ามีอยู่จริง แต่ไม่ใช่เหรียญที่วัดตั้งใจสร้าง เดาว่าโรงงานได้นำเอาแผ่นนวโลหะไปปั๊มเองแล้วส่งมาให้ที่วัด ซึ่งแผ่นนวโลหะของรุ่นนี้จะแก่เนื้อเงินเมื่อล้างครั้งแรกเนื้อจะกลายเป็นสีเงินทั้งเหรียญแล้วเริ่มกลับเป็นสีส้มไล่จากขอบ ก่อนจะกลายเป็นเขียวและดำในที่สุด ซึ่งเนื้อนวะหน้าเดียวนี้มักจะกลับดำจนเหมือนถูกรมดำมาจากวัดด้วย ส่วนตัวเคยเห็นการถกเถียงและท้าล้างกันต่อหน้าต่อตา พอล้างมาแล้วก็เป็นเช่นที่อธิบายมา แล้วพระแท้เนื้อไม่ใช้ทองแดงแน่นอน และลักษณะการกลับก็ไม่ใช่เนื้อเงิน ทำให้ส่วนตัวเชื่อว่ามีเนื้อนวโลหะหน้าเดียวจริง เพียงแต่วัดจะได้ตั้งใจทำมาหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ สำหรับเนื้อทองแดงนั้นมีจำนวนสร้างมากที่สุด คือ 80,081 เหรียญ ให้ทำบุญเหรียญละ 10 บาท มีด้วยกัน 2 พิมพ์ 4 บล็อก จึงขออธิบายที่พิมพ์แรกคือพิมพ์ 2 หน้าก่อน เพราะมีบล็อกเดียวเหมือนกันหมด โดยเนื้อทองแดงพิมพ์สองหน้าก็ใช้บล็อกวงเดือนมาสร้างเช่นเดียวกับเนื้อนวโลหะสองหน้า ต่างกันที่เนื้อทองแดงสองหน้าจะเป็นขอบหนาทั้งสองด้าน ในส่วนจำนวนสร้างว่ากันว่ามีแค่หลักร้อยพบเจอยาก ส่วนใหญ่จะเป็นทองแดงรมดำ แต่กะไหล่ทองก็มีออกมา โดยว่ากันว่าพิมพ์สองหน้านั้นสร้างหลังจากชุดแรกหน้าเดียวแต่ทันหลวงพ่อเช่นกัน ที่สันนิษฐานเช่นนี้เนื่องจากแม่พิมพ์มีขี้กลากที่บริเวณหน้าอกหลวงพ่อแล้วนั่นเอง เนื้อทองแดงบล็อกทองคำ ลักษณะของบล็อกนี้คือพื้นเหรียญด้านหน้าส่วนใหญ่จะเรียบแต่มีเส้นวิ่งจากปลายคางหลวงพ่อไปหาขอบเหรียญที่บริเวณ 8 นาฬิกา นอกจากนี้จะมีเส้นวิ่งขนานดั้งจมูกหลวงพ่ออีกเส้น บล็อกนี้มักจะมีเนื้อเกินที่ใต้หน้าอกหลวงพ่อและขอบเหรียญด้านในล้นเกินออกมา ซึ่งความมากน้อยก็แล้วแต่ละเหรียญ บล็อกวงเดือน ลักษณะโดยรวมใกล้เคียงกับบล็อกทองคำ แต่ที่พื้นเหรียญไปจนถึงเส้นขอบเหรียญจะมีเส้นวิ่งเป็นแนวโค้งลักษณะเหมือนเส้นกลึง คาดว่าน่าจะเกิดจากการกลึงแม่พิมพ์ จึงทำให้ถูกเรียกว่าบล็อกวงเดือนนั่นเอง บล็อกสายฝน บล็อกนี้แทบจะเป็นฝาแฝดกับบล็อกวงเดือนเลยก็ว่าได้ โดยรายละเอียดเหมือนกับบล็อกวงเดือนทุกประการ ต่างกันที่พื้นเหรียญจะไม่มีเส้นวงเดือน หากแต่มีเส้นวิ่งเป็นเส้นเสี้ยนตรงถักทอไม่เป็นระเบียบ แต่ส่วนใหญ่จะเกือบตรงดิ่ง จึงถูกเรียกว่าบล็อกสายฝน เดาว่าเส้นเสี้ยนน่าจะเกิดจากการไล่ผิวแม่พิมพ์ให้เรียบ สำหรับท่านที่สับสนว่าบล็อกนี้มีตัวตนหรือไม่ก็ขอตอบตอนนี้เลยว่ามีแน่ หายากกว่าบล็อกทองคำเสียด้วย บล็อกไข่ยาว บล็อกนี้รูปทรงเหรียญจะแคบแต่ยาวกว่า คือดูรีกว่านั่นเอง ทำให้ถูกเรียกว่าบล็อกไข่ยาวไปในที่สุด นอกจากนี้เส้นยันต์ด้านหลังจะมีลักษณะเรียวเล็กกว่าบล็อกอื่นๆ เป็นเนื้อทองแดงรมดำ ในส่วนของเนื้อทองแดงกะไหล่ทองที่ออกจากวัดนั้นก็ว่ากันว่ามีเพียงบล็อกไข่ยาวเท่านั้นที่วัดทำกะไหล่ทองออกมาแจกแม่ครัว ส่วนบล็อกอื่นๆ ก็ไม่ได้รับการยอมรับว่ามีกะไหล่ทองวัดออกมา แต่เรื่องนี้ต้องว่ากันตามความชอบความศรัทธา เพราะคนรู้เรื่องนั้นหาตัวตนไม่ได้อีกแล้ว แต่ที่กล้ายืนยันจริงๆ คือบล็อกไข่ยาวนั้นมีกะไหล่วัดแน่นอน ในส่วนของเนื้อทองแดงนั้นมีการรมดำทุกเหรียญเพื่อรักษาผิวพระหากแต่มีการรม 2 แบบ ที่ทางลึกเขาเรียกว่าแบบรมวัดและรมมันปู คือหากเป็นผิวรมดำแบบรมมันปูนั้นหลังจากรมดำไปแล้วได้มีการทาน้ำมันไม่ให้เหรียญเกิดสนิมอีกชั้น ทำให้เหรียญที่สวยๆ มองตาเปล่าจะเงาและเหมือนสีเทา แต่หากถ่ายรูปอาจจะมองเหมือนผิวเปิดเพราะการทาน้ำมันทับคงทำให้ผิวรมดำเดิมบางไปนั่นเอง ส่วนผิวอีกแบบที่เรียกว่ารมวัดนั้นเชื่อกันมานานและเล่ากันต่อๆ มาว่าหลวงพ่อเงินท่านมักจะนิยมนำพระชุดหนึ่งมาเข้าพิธีเษกนำฤกษ์ไว้ก่อน โดยจะนำใบขี้เหล็กและสะเดาที่หาได้ง่ายในสมัยนั้นมาวางรองที่ก้นบาตรพระแล้ววางเหรียญทองแดงลงไป เมื่อเต็มหนึ่งชั้นแล้ววางใบไม้ทับแล้ววางเหรียญชั้นที่สองต่อไป ทำเช่นนั้นจนเต็มแล้วปิดบาตรก่อนสุมด้วยฟืนก่อนจะเผาไฟเป็นเวลานานจนใบไม้นั้นกลายเป็นเขม่าขี้เถ้าปิดคลุมเหรียญ ซึ่งผิวแบบนี้มักจะเห็นผิวรมดำเป็นลักษณะด้านฝาดๆ และมักจะมีคราบเขม่าติดคลุมผิวอยู่อีกด้วย ลักษณะเด่นอีกอย่างคือมักจะเกิดผิวรุ้งแห้งๆ ติดเหรียญเอาไว้ด้วยนั่นเอง ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็ปดอนยายหอมดอทคอม |
||||||||||||||||
ราคา
|
โทรถาม | ||||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
092-6924256 | ||||||||||||||||
ID LINE
|
thanamat624 | ||||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
4,840 ครั้ง | ||||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 773-2-28000-9
|
||||||||||||||||
|