พระปรกใบมะขามหลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม เนื้อเงิน ปี 18 หายากมาก เลี่ยมทองเก่าเดิมๆ
|
|||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
|||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
บี บุรีรัมย์ | ||||||||||||||||
โดย
|
บี บุรีรัมย์ | ||||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเนื้อเงิน | ||||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระปรกใบมะขามหลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม เนื้อเงิน ปี 18 หายากมาก เลี่ยมทองเก่าเดิมๆ |
||||||||||||||||
รายละเอียด
|
องค์นี้สวยแชมป์โลก พระปรกใบมะขามหลวงปู่เม้า พลวิริโย วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์ เนื้อเงิน ๑ ใน ๓๐๐ องค์ หายากมา พระชุดเล็กที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในยุคนี้ คือ พระปรกใบมะขาม สมัยก่อนใช้หล่อด้วยสัมฤทธิ์บ้าง เมฆพัดบ้าง แต่สมัยนี้ส่วนใหญ่ใช้ปั๊มทำให้มีความสวยงามกว่าสมัยก่อน พระปรกใบมะขามที่ดีทั้งคุณภาพและได้รับความนิยมมากเห็นจะได้แก่ ปรกใบมะขามเนื้อเมฆพัดหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ และปรกเจ้าคุณสนิท วัดท้ายตลาด มีพระปรกรุ่นใหม่แต่สูงสุดด้วยคุณภาพเพราะแผ่เมตตาปลุกเสก โดยพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศิลบริสุทธิ์นั่นก็คือ พระปรกใบมะขามหลวงปู่เม้า พลวิริโย วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์ หลวงปู่เม้าท่านเกิดในตระกุล สุราษฎร์ มีนามเดิมว่า “เม้า” เกิดเมื่อขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๗ พ.ศ. ๑๔๑๗ เมื่ออายุได้ ๑๓ ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณรจนถึงอายุ ๒๐ ขวบ จึงได้อุปสมบทเป็นพระ ณ วัดใหม่เรไรทอง โดยมีพระอาจารย์เพียร เป็นพระอุปฌาย์ ซึ่งพระอาจารย์องค์นี้เป็นพระนักวิปัสนาที่มีชื่อเสียงมากในสมัยโน้น เมื่อเรียนได้ ๕ ปี ท่านก็เรียนรู้รู้จากพระอาจารย์จนหมดสิ้น จากนั้นท่านก็ได้ธุดงค์ไปศึกษากับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีตเถระ ซึ่งในขณะนั้นพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระได้จำวัดที่วัดเลีบล จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นท่านก็ได้เดินธุดงค์เดี่ยวไปตามที่ต่างๆ เพื่อบำเพ็ญเพียร ในระหว่างเดินธุดงค์นั้นท่านได้บูรณะสิ่งก่อสร้างต่างๆ ไว้มากมาย เช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิ โรงเรียนและสระน้ำ ฯลฯ ซึ่งนับว่าบุญบารมีของหลวงปู่มีมากจึงสามารถบูรณะสิ่งต่างๆ ใด้มากมาย พระปรกใบมะขามชุดนี้สร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยในการบูรณะ วัดโสกน้ำขาว จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นถิ่นธรุกันดารมาก พระปรกชุดนี้ได้นำไปให้พระเกจิอาจารย์ต่างๆ ร่วมปลุกเสกเดี่ยวอีกมาก เพื่อให้ท่านที่ได้มาร่วมทำบุญกุศลคั้งนี้แน่ใจว่าได้ของดีไว้ใช้จริงๆ ซึ่งเกจิอาจารย์ต่างๆ ที่กรุณาปลุกเสกให้มีดังนี้ ๑. หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดสระแก้ว จังหวัดนครราชสีมา ปลุกเสกเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายนต์ ๒๕๑๗ หลังจากที่ท่านได้เมตตาปลุกเสกพระชุดนี้แล้ว ท่านได้กล่าวว่า “เอาไปเถอะผู้ใดได้บูชาไว้ใช้จะมีแต่ความสิริมงคล” ๒. หลวงพ่อเป็น วัดเจริญนิมิตร จังหวัดบุรีรัมย์ ปลุกเสกเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๗ ซึ่งหลวงพ่อองค์นี้ทำของให้ใครอยากมาก เพราะว่าสิ่งของที่ท่านทำแต่ละชิ้นสามารถอยู่คงต่ออาวุธ ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาของท่านนำไปใช้ในทางที่ผิด ท่านเลยไม่ยอมปลุกเสกของให้ใครง่ายๆ ๓. หลวงพ่อทิพย์ ธัมมนิโยโก วัดโพธิ์ทอง จังหวัดบุรีรัมย์ ปลุกเสกเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๗ ท่านได้เมตตาจัดพิธีต่างๆ โดยองค์ท่านเองตลอด ๔. หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ปลุกเสกเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๗ ซึ่งหลวงปู่มีบุญบารมีขนาดไหน เก่งทางใด นักสะสมพระเครื่องคงรู้จักกันดี ๕. พระครูวิบูลย์ สุมโณ วัดลำต้อยติ่ง ปลุกเสกเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๗ ซึ่งหลวงพ่อองค์นี้เก่งทางงู เขี้ยวสัตว์ต่างๆได้ขออนุญาตจากท่านให้ช่วยเมตตากับพวกเขี้ยวสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะ ๖. พิธีมหาพุทธาภิเษกเพื่องในงานทำบุญต่อายุ หลวงปู่คำ ยัสกุลปุตโต วัดศรีจำปาชนบท อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ซึ่งหลวงปู่องค์นี้เป็นศิษย์สายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ที่มีพรรษาสูงสุด ในปัจจุบันอายุ ๙๔ ปี พรรษา ๔๕ ตามประวัติหลวงปู่ท่านเคยเป็นคหบดีแห่ง อำเภอพังโคน และเป็นโยมอุปัฏฐากที่ใกล้ชิดท่านอาจารย์มั่นมาก ในคราวที่พระอาจารย์มั่น ได้ชวนท่านมาบวชในบวรพุทธศาสนา หลวงปู่ท่านจึงได้ละจากเพศฆราวาสมาสู่ร่วมพระกาสาวพัสตร์ และท่านเป็นผู้ที่เคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติตลอดมา ในงานพิธีนี้มีกำหนดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗-๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๗ ตรงกับขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑ ปีขาล มีคณาจารย์ในสายอาจารย์มั่นทั่วภาคอีสานมาร่วมในพิธีนี้ถึง ๔๖ ท่าน อาทิ พระเทพบัณฑิต วัดศรีเมือง จังหวัดหนองคาย พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร อาจารย์อ่อน ญาณศิริ อาจารย์จวน กุลเชษโก อาจารย์จันทร์ เขมปัตโต อาจารย์หลุย จันทสาโร วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า จังหวัดเลย อาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จังหวัดสกลนคร อาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกองเพล จังหวัดอุดรธานี ฯลฯ ๗. หลวงปู่เม้า พลวิริโย วัดสี่เหลี่ยม จังหวัดบุรีรัมย์ ปลุกเสกเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๑๗ (ปลุกเสกร่วมกันพระชุดมหานิยม ณ วัดดอนไม้ไฟ ) จากพระคณาจารย์ต่างๆ ที่เสกและอธิษฐานจิตพระปรกชุดนี้แล้ว จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าพระชุดนี้ซึ่งงามอยู่แล้ว จะเลิศทั้งคุณภาพอย่างไม่ต้องสงสัย นักสะสมพระเครื่องจึงไม่ควรพลาด โดยปรกใบมะขาม นั้นแบ่งแยกเนื้อออกเป็น เนื้อทองคำ ๓๔ องค์ เนื้อเงิน ๓๐๐ องค์ เนื้อนวะ ๕๐๐ องค์ เนื้อทองแดง ๑๒,๐๐๐ องค์ และเนื้อกะหลั่ยทอง-เงิน (มีเฉพาะชุดกรรมการ) ***ที่มา หนังสืออภินิหารและพระเครื่อง ฉบับที่ ๒๙ ปีที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๑๗*** |
||||||||||||||||
ราคา
|
โชว์เพื่อการศึกษาและสะสม | ||||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
092-6924256 | ||||||||||||||||
ID LINE
|
thanamat624 | ||||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
1,464 ครั้ง | ||||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 773-2-28000-9
|
||||||||||||||||
|